ป้องกันก่อนถูกโกง ภัยร้ายออนไลน์ดูดเงินหมดบัญชี 2024

  • หน้าแรก
  • ป้องกันก่อนถูกโกง ภัยร้ายออนไลน์ดูดเงินหมดบัญชี 2024

ป้องกันก่อนถูกโกง ภัยร้ายออนไลน์ดูดเงินหมดบัญชี 2024

          กรณีภัยร้ายออนไลน์ประชาชนถูกมิจฉาชีพดูดเงินหมดบัญชี ยังเป็นที่ระวังเป็นอย่างมาก เนื่องจากมีประชาชนหลายท่านได้ถูกแก๊งคอลเซ็นเตอร์มิจฉาชีพหลอกดูดเงินหมดบัญชี ในรูปแบบที่แตกต่างกันออกไป เรียกได้ว่าขณะนี้ภัยร้ายใกล้ตัวมากที่สุดก็คือภัยร้ายที่มาในรูปแบบออนไลน์ผ่านโทรศัพท์มือถือนั่นเอง วันนี้สำนักงานกฎหมายวงศกรณ์ก็ได้มีคำแนะนำเกี่ยวกับวิธีป้องกันการถูกดูดเงินหมดบัญชีเบื้องต้นมาฝากเป็นความรู้กัน หากทำตามคำแนะนำที่เรานำมาฝากกันในวันนี้ได้ ก็ทำให้คุณไม่เสี่ยงถูกมิจฉาชีพออนไลน์ดูดเงินหมดบัญชีได้แน่นอน

4 วิธีป้องกันก่อนถูกมิจฉาชีพดูดเงินหมดบัญชี

          อย่างที่ทราบกันเป็นอย่างดีว่าปัจจุบันนี้ภัยร้ายจากพวกแก๊งคอลเซ็นเตอร์มิจฉาชีพระบาดเป็นอย่างมาก แม้ว่าจะได้รับการถูกกวาดล้าง และมิจฉาชีพบางส่วนได้ถูกจับกุมไปบ้างแล้ว แต่ก็ยังไม่วายที่จะยังมีผู้เสียหายถูกดูดเงินหมดบัญชีอยู่ วันนี้สำนักงานกฎหมายวงศกรณ์ ก็ได้นำวิธีการป้องกันก่อนถูกดูดเงินในบัญชีมาฝากกัน ในเมื่อมิจฉาชีพพวกนี้ยังไม่หมดไป ประชาชนอย่าเรา ๆ ก็ต้องมีวิธีการเพื่อรู้ทันไม่ถูกมิจฉาชีพดูดเงินหมดบัญชีไป

-ไม่รับเบอร์แปลก อาจถูกหลอกล็อกอินดูดเงินหมดบัญชี

          อย่างกรณีข่าวดังเมื่อช่วงปลายปี 2566 ที่ผ่านมา นายคารม พลพรกลาง รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้ออกมาเตือนเรื่องเบอร์แปลก ระบุเบอร์อันตราย 082-810-3575  โดยมิจฉาชีพได้ใช้เบอร์ดังกล่าวแอบอ้างเป็นเจ้าหน้ากระทรวงการคลังโทรหาประชาชนหลอกให้ล็อกอินและให้กดยกเลิกสิทธิ์โครงการของรัฐ จนผลสุดท้ายได้ถูกดูดเงินหมดบัญชีในที่สุด

-ไม่กดเข้าลิงก์ใด ๆ ที่มาจาก SMS หรือแพลตฟอร์มอื่น ๆ

          ไม่ว่าจะช่องทาง SMS , E-mail , Line , Facebook และหรือช่องทางอื่น ๆ ก็ได้มีผู้เสียหายหลายท่านได้ถูกแก๊งมิจฉาชีพดูดเงินหมดบัญชี สูญเสียทรัพย์สินไปจำนวนไม่น้อย ดังนั้น ไม่ว่าจะมีลิงก์ข้อความที่เข้ามาในทำนองที่ว่า “คุณเป็นผู้โชคดี” หรือ “คุณมียอดค้างชำระ” รวมไปถึงข้อความใด ๆ ก็แล้วแต่ที่ส่งมาพร้อมกับลิงก์ให้กดเข้าไป อย่ากดเข้าไปเด็ดขาด เพราะนั่นอาจเป็นจุดเริ่มต้นของการถูกมิจฉาชีพหลอกดูดเงินหมดบัญชีได้ โดยขั้นตอนในการดูดเงินหมดบัญชีของมิจฉาชีพก็มีหลายรูปแบบด้วยกันจากการที่กดคลิกลิงก์เข้าไป เพราะแต่ลิงก์ของมิจฉาชีพมีปลายทางแตกต่างกัน บางลิงก์กดเข้าไปแล้วให้เพิ่มเพื่อนในไลน์ แต่บางลิงก์กดเข้าไปแล้วก็สามารถเจาะข้อมูลธุรกรรมทางธนาคารได้ทันที ในภายหลังคุณอาจถูกดูดเงินหมดบัญชีได้ง่าย ๆ จากการกดลิงก์เพียงหนึ่งครั้งเท่านั้น

-ดาวน์โหลดแอปพลิเคชันผ่าน App Store หรือ Play Store เท่านั้น

          สำหรับใครที่เล่น Social media คงคุ้นตากันมาบ้างสำหรับโฆษณาแอปพลิเคชันที่มักแปะลิงก์มาพร้อมให้ดาวน์โหลดตามแพลตฟอร์มต่าง ๆ โดยส่วนใหญ่แล้วก็มักมาในรูปแบบของแอปพลิเคชันเกมออนไลน์ ซึ่งเราไม่สามารถรู้ได้เลยว่าลิงก์ที่แปะมานั้นเป็นลิงก์สำหรับดาวน์โหลดแอปพลิเคชันหรือไม่ หรือแอปพลิเคชันนั้นมีอยู่จริงหรือไม่ เนื่องจากพวกมิจฉาชีพมักใช้วิธีการดังกล่าวเพื่อหลอกให้กดลิงก์เข้าไปเจาะข้อมูลในโทรศัพท์มือถือของคุณ หรืออาจมากไปกว่านั้นคือเจาะเข้าระบบธนาคารและดูดเงินหมดบัญชีไปได้ ดังนั้น หากต้องการดาวน์โหลดแอปพลิเคชันใด ควรดาวน์โหลดผ่านแอปสำหรับดาวน์โหลดในโทรศัพท์มือถืออย่าง App Store หรือ Play Store จะดีกว่า เพื่อความปลอดภัยของข้อมูลในโทรศัพท์มือถือของคุณ

-ไม่ควรใช้ Free Wifi ในการทำธุรกรรมทางการเงิน

          สำหรับใครที่ต้องการทำธุรกรรมทางการเงินแล้วโทรศัพท์มือถือไม่มีสัญญาณอินเทอร์เน็ต แนะนำว่าหากเป็นธุรกรรมที่ต้องใช้เงินจำนวนมาก แนะนำว่าควรไปที่ธนาคาร และหรือหากไม่เหนือบย่ากว่าแรงก็อาจเติมอินเทอร์เน็ต หรือใช้ Wifi ที่บ้านจะปลอดภัยกว่า สืบเนื่องมาจากขณะนี้มิจฉาชีพทางรูปแบบออนไลน์ระบาดหนักเป็นอย่างมาก อีกทั้งยังมีผู้เสียหายเพิ่มมากขึ้นทุกวันๆ การป้องกันตัวเองโดยการไม่ใช้ Free Wifi ตามที่สาธารณะก็เป็นการป้องกันข้อมูลของคุณได้อย่างหนึ่ง เพราะระบบ Free Wifi อาจเป็นหนึ่งในวิธีการของพวกแก๊งมิจฉาชีพที่จะมาดูดเงินหมดบัญชีของคุณ โดยระบบ Free Wifi อาจนำมาซึ่งมิจฉาชีพสามารถเข้ามาเจาะข้อมูลในโทรศัพท์มือถือของคุณได้นั่นเอง และหากแก๊งมิจฉาชีพเข้ามาเจาะข้อมูลจากมือถือของคุณได้นั้นความสูญเสียอาจตามมาในจำนวนไม่น้อยเลยทีเดียว